ครั้งที่ 15

บทความ

บทความ





EAED2203 การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วัน พุธ ที่ 22 เดือน มกราคม พ.ศ.2563

เวลา 08:30-12:30

 เนื้อหาสรุปบทความ

บทความคณิตศาสตร์ : สิ่งสำคัญในการสอนคณิตศาสตร์

    หลักการสอนคณิตศาสตร์ที่ว่า “ หลักการสอนคณิตศาสตร์ หมายถึง สอนเมื่อนักเรียนมีความพร้อม สอนตามลำดับขั้นตอน จากง่ายไปหายาก จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม ใช้วิธีสอนที่หลากหลาย ใช้วิธีอุปนัยในการสรุปหลักเกณฑ์ของบทเรียนและนำความรู้ไปใช้โดยวิธีนิรนัย นักเรียนควรมีส่วนร่วมในบทเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการทำงานตามความสามารถ”ครูผู้สอนจะต้องรู้ถึงระดับความรู้ของการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนแต่ละคนก่อนเป็นลำดับแรกระดับความรู้ของการเรียนคณิตศาสตร์นั้นสามารถแบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้

1. ระดับความรู้ขั้นพื้นฐาน พื้นฐานเพียงพอที่จะใช้งานในชีวิตประจำวัน หรือสถานการณ์ที่คุ้นเคย โดยสนับสนุนให้สร้างจินตนาการเชื่อมโยงความรู้พื้นฐานเข้ากับสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น

2. ระดับความรู้ขั้นที่สอง ขั้นนี้สามารถสร้างจินตนาการทางคณิตศาสตร์” รู้จักนำเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันหรือสิ่งที่พบเห็นรอบตัวมาเชื่อมโยงกับความรู้ทางคณิตศาสตร์ได้ มีความสามารถในเชิงคิดวิเคราะห์และประยุกต์ความรู้เพื่อตอบโจทย์ที่ซับซ้อน

3. ระดับความรู้ขั้นที่สาม หรือกลุ่มที่เรียกว่า “นักคิดทางคณิตศาสตร์ คนกลุ่มนี้มีความสามารถที่จะเข้าใจเหตุผลได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องอาศัยข้อมูลจากคนอื่น เช่น นักเรียนที่ไปแข่งขันวิชาการโอลิมปิก
ครูผู้สอนควรที่ศึกษากระบวนการเรียนการสอนที่ทำให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ จึงขอเสนอรูปแบบการสอนซึ่งมี 6 ระดับขั้น ดังนี้

1. ขั้นออกแบบ : ผู้สอนต้องวางแผนและออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับเนื้อหาและระดับการเรียนรู้ อย่างรอบคอบกับระดับความพร้อมของนักเรียน เน้นให้นักเรียนได้มีส่วนร่วม สนุกสนานในการเรียน มีทักษะทางคณิตศาสตร์ในด้านต่างๆ

2. ขั้นนำ : ต้องสร้างบรรยากาศ การเรียนการสอนเป็นไปอย่างสนุกสนาน ส่งเสริมให้นักเรียนมีเหตุผล สร้างความสามัคคี

3. ขั้นสอน : ครูผู้สอนต้องสอนจากสิ่งที่ง่าย ไปสู่สิ่งที่ยาก ครูผู้สอนไม่ควรเน้นที่
ใบงาน ใบกิจกรรมมากจนเกินไป ครูผู้สอนควรเป็นผู้ที่คอยแนะนำ ให้คำปรึกษาครูผู้สอนต้องให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงทัศนคติและ นำสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ มาใช้ประกอบการสอน

4. ขั้นฝึกหัด : ครูผู้สอนควรกำหนดสถานการณ์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน ให้นักเรียนทำเป็นรายบุคคล หรือทำเป็นกลุ่มในแต่ละกลุ่มควรมีการคละความสามารถของนักเรียน ในขั้นนี้อาจให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม รวมกลุ่มสร้างสถานการณ์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียนแล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

5. ขั้นสรุป : ให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เรียนไป ครูช่วยชี้แนะ แล้วนักเรียนและครูผู้สอนร่วมกันสรุปเนื้อหาที่ได้เรียนไป หรือให้นักเรียนสรุปเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม

6. การประเมิน : เน้นการประเมินตามสภาพจริง มีการประเมินที่หลากหลายและควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินด้วย


เนื่องจากรูปแบบการสอนทั้ง 6 ขั้นเป็นรูปแบบกว้าง ๆ สามารถประยุกต์เอาวิธีสอนต่าง ๆ มาใช้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมทั้งเนื้อหาวิชาและนักเรียน 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น